( (( )) )

6 พฤศจิกายน 2555

โอกาสเจอ “ใครสักคนที่ใช่” เป็นเท่าไหร่กัน?

โอกาสเจอ “ใครสักคนที่ใช่” เป็นเท่าไหร่กัน?

Backus นักเศรษฐศาสตร์ ได้ทำการประยุกต์ Drake
 equation เพื่อคำนวณโอกาสที่ชีวิตของเราจะได้เจอใครสักคนที่ใช่ (Perfect Match) โดยประเมินว่าจะมีสักกี่คนในสังคมที่ตรงกับความต้องการของเรา และสามารถสื่อสารกับเราได้อย่างพอดีจริงๆ (ประเภทมีฮอร์โมนตรงกันกับเราแบบมองตาก็รู้ใจ = สื่อสารด้วยสัญญาณแบบเดียวกัน) สมการดังกล่าวถูกเรียกว่า Drake-Backus
equation

ขอเริ่มต้นจากการยกตัวอย่างการคำนวณ Drake
 equation ซึ่งมีหลักการว่า หากจะหาดวงดาวที่สามารถสื่อสารกับโลกได้นั้น เริ่มจากพิจารณาอัตราการเกิดดาวดวงใหม่ต่อปี ปรับด้วยจำนวนที่เป็นดาวเคราะห์ ที่สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่รอด พัฒนาความศิวิไลซ์ และสามารถสื่อสารแบบเดียวกับมนุษย์ได้ ภายในช่วงเวลาที่ไม่น้อยไปกว่าที่ใช้พัฒนาสัญญาณ[1]

N = R* x ƒp x ne x ƒl x ƒi x ƒc x L

โดยบทความของ Drake ระบุความหมายของแต่ละตัวแปรไว้ว่า

R* = 10/year (มีดวงดาวเกิดใหม่ 10 ดวงต่อปี)

ƒp = 0.5 (ครึ่งหนึ่งของดวงดาวที่เกิดใหม่เป็นดาวเคราะห์)

ne = 2 (ในดวงดาวที่เกิด มีดาวเคราะห์ 2 ดวงที่สิ่งมีชีวิตอยู่รอดได้)

ƒl = 1 (100% ดาวเคราะห์เหล่านี้ สิ่งมีชีวิตจะอยู่รอดได้)

ƒi = 0.01 (1% สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจะพัฒนาความศิวิไลซ์)

ƒc = 0.01 (1% จะสามารถสื่อสารได้)

L = 10,000 years (ใช้เวลาในการพัฒนาสัญญาณ 10,000 ปี)

ดังนั้น จำนวนดวงดาวในกาแล็กซี่ที่มีโอกาสจะสื่อสารกับโลกของเราได้ (N) = 10 × 0.5 × 2 × 1 × 0.01 × 0.01 × 10,000 = 10 ดวง(เท่านั้น)

Backus ได้ทำการประยุกต์จนเป็นสมการใหม่เป็น Drake-Backus
 equation โดยอยู่บนพื้นฐานเดียวกันกับ Drake equation

G = R* x ƒp x ƒw x ƒL x ƒA x ƒU x ƒB x L

G = จำนวนคนที่มีโอกาสเป็น “คนที่ใช่” (The 
number 
of 
potential 
girlfriends)

R* x L 
=
 จำนวนประชากรในประเทศ (The 
number 
of 
people 
in 
our country) [ne หายไปในสมการ เพราะประชากรที่เกิดมาเป็นคนทั้งหมด]

ƒw = สัดส่วนของประชากรที่เป็นเพศตรงข้าม (The 
fraction 
of 
people 
in 
the 
country 
who 
are 
women)

ƒL = สัดส่วนของเพศตรงข้ามที่อยู่ในเมืองของเรา (The 
fraction 
of 
women 
in 
the 
country 
who 
live 
in our city)

ƒA = สัดส่วนของเพศตรงข้ามในช่วงอายุที่เหมาะสม (The 
fraction 
of 
the 
women 
in our city 
who 
are 
age ­appropriate)

ƒU = สัดส่วนของเพศตรงข้ามในช่วงระดับการศึกษาที่เหมาะสม (The
 fraction 
of 
age ­appropriate 
women 
in our city 
with 
a 
university
 education)

ƒB = สัดส่วนของเพศตรงข้ามที่ตรงสเป็ค (The
 fraction 
of 
university 
educated, 
age ­appropriate 
women 
in our city
 who 
I 
find 
physically 
attractive)

หลักการที่สามารถเข้าใจได้ก็คือ เริ่มจากจำนวนประชากร (R* x L) ปรับด้วยสัดส่วนของเพศตรงข้าม (ƒw) ที่อยู่ในเมืองของเรา (ƒL) มีความเป็นไปได้ทางอายุ (ƒA) มีความเป็นไปได้ทางการศึกษา (ƒU) และตรงสเป็ค (ƒB) นั่นเอง

……….

ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของผู้ชาย อายุ 30 ปี จบปริญญาตรี และทำงานที่อยู่ในกรุงเทพฯ ข้อมูลที่ได้คือ

R* 
=
 60.6 ล้านคน (2554), ƒw = 50.2% (2543), ƒL = 9.4% (2553), ƒA = 15.18% (2553 ช่วงอายุ ± 5 ปี ของคนที่อยู่ในช่วงอายุ 15-64 ปี), ƒU = 21% (2553 สัดส่วนของคนกทม.ที่จบปริญญาตรีขึ้นไป), ƒB = 5% (ตัวเลขสมมติกรณีสเป็คแคบ หมายความว่า ใน 100 คนจะตรงสเป็ค 5 คน), L = 30 ปี

เมื่อนำมาคำนวณจะได้ G = 60,600,000 x 50.2% x 9.4% x 15.18% x 21% x 5% = 4,558 คน

หรือจำนวนของคนที่ใช่สำหรับผู้ชาย จบปริญญาตรี และทำงานที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะมีอยู่เพียง 4,558 คนเท่านั้น

จากนั้นยังไม่เสร็จเพียงแค่นี้ เพราะค่า G ที่ได้คือจำนวนของคนที่ใช่เท่านั้น ยังไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแฟนกับเราได้ จึงต้องนำค่า G มาปรับด้วย 3 ปัจจัย คือ

สัดส่วนของคนที่จะเห็นว่าเราก็ใช่ในแบบของเขาด้วย เพราะถ้าเขาใช่ของเรา เราไม่ใช่ของเขา ก็จบ ปัจจัยนี้ขึ้นอยู่กับหน้าตา นิสัย ฐานะ และบุคลิกเฉพาะตัวของแต่ละคน (บทความสมมติว่า 5%) สัดส่วนคนที่ยังโสด มีค่าเป็นเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการนิยามความโสดของแต่ละคน ถ้านับมีแฟนแล้วว่าไม่โสด คนโสดก็จะน้อย ถ้านับที่แต่งงานแล้ว ไม่นับแค่มีแฟน คนโสดก็จะเยอะขึ้น แต่บางคนเค้าไม่ถือ แต่งงานแล้วก็ยังจะนับว่าโสด อย่างนี้ก็ 100% ไปเลย (หากใช้เกณฑ์ว่ามีแฟนหรือยัง ในประเทศไทยก็คงยังไม่มีสัก 10%) และสัดส่วนของคนที่เราจะกล้าลองจีบดูจริงๆ อันนี้ขึ้นอยู่กับความกล้าของแต่ละคนครับ (ในบทความสมมติว่า 10%) เท่ากับว่า จำนวนคนที่ใช่ และมีโอกาสจะได้คบกันจริงจัง (G*) คือ 4,558 x 5% x 10% x 10% = 2.279 ≈ 2 คนเท่านั้น

หรือ โอกาสที่จะได้คบกันจริงจังกับคนที่ใช่ในแบบของเรามีเพียง 2 ใน 60.6 ล้านคนเท่านั้น

สำหรับคนที่ไม่เก่งคณิตศาสตร์ แต่อยากเอาสมการนี้ไปใช้ ขอแนะนำสมการง่ายๆ เป็น [ใช้ได้ทั้งหญิงและชาย เพราะสัดส่วนใกล้เคียงกันมาก]

จำนวนคนที่ใช่ และมีโอกาสจะได้คบกันจริงจัง (G*) = 9.1 x (ใน 10 คน น่าจะตรงสเป็คเรากี่คน) x (ใน 10 คน น่าจะสนใจเรากี่คน) x (ใน 10 คน น่าจะโสดกี่คน) x (ใน 10 คน จะกล้าจีบกี่คน)

และโอกาสเจอคนที่ใช่ และมีโอกาสจะได้คบกันจริงจังมีเพียง = G* / 60.6 ล้าน เท่านั้น

ดังนั้น หากใครยังไม่เจอก็ขอให้พบเจอในเร็ววันนะครับ หากใครเจอแล้วก็ขอให้ดูแลกันให้ดีและรักกันไปนานๆ ครับ เพราะจากสมการจะเห็นได้ว่าไม่ได้เจอกันง่ายๆ เลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น: